โครงงานWEB BLOG หอยแครงคายดินด้วยสมุนไพร

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตารางสรุปผลการทดลอง

สวัสดีค่ะท่านผู้ชมทุกๆท่าน วันนี้ดิฉันจะพาทุกๆท่านไปชมตารางสรุปผลการทดลองของโครงงานเรื่อง หอยแครงคายดินด้วยสมุนไพร ค่ะ
            ซึ่งในการทำโครงงานเรื่องนี้ทางคณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองด้วยกันทั้งหมด 3 ครั้ง แต่สิ่งที่ฉันจะพาทุกท่านไปดู คือ ตารางผลการทดลองโดยเฉลี่ยที่ได้จากการทดลองทั้งหมด อยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่าสมุนไพรชนิดไหนจะมีผลต่อการคายดินของหอนแครงมากที่สุด ไปดูกันเลยค่ะ

ตาราง แสดงปริมาณการคายดินของหอยแครงในสมุนไพรแต่ละชนิดทั้ง 3 ครั้ง

ชนิดของสมุนไพร
ปริมาณการคายดินของหอยแครงโดยเฉลี่ย (ร้อยละ )
บอระเพ็ด
22.22
ใบโหระพา
24.60
พริกขี้หนู
17.46
ใบขี้เหล็ก
15.08
ขมิ้น
10.32
น้ำเปล่า
10.32

จากตาราง แสดงปริมาณการคายดินของหอยแครงในสมุนไพรแต่ละชนิดทั้ง 3 ครั้ง พบว่า ใบโหระพามีปริมาณการคายดินของหอยแครงโดยเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ บอระเพ็ด, พริกขี้หนู, ใบขี้เหล็ก, ขมิ้นและน้ำเปล่ามีปริมาณการคายดินของหอยแครงโดยเฉลี่ยเท่ากัน

วิธีการทดลอง




สวัสดีค่ะ ท่านผู้ชมทุกๆท่าน หลังจากที่ท่านได้หลงเข้ามาใน Blog นี้แล้ว ท่านคงอยากรู้ใช่ไหมคะ ว่า ทำไม blog นี้มีแต่รูปหอยแครงอยู่เต็มไปหมด มาค่ะดิฉันเฉลยให้ เหตุผลที่ใน Blog นี้มีแต่รูปหอยแครงกับสมุนไพรก็เพราะว่า นี่คือ Blog ของโครงงานหอยแครงคายดินด้วยสมุนไพรนั่นเอง
วันนี้ดิฉันจะพาทุกๆท่านไปดูขั้นตอนการทำโครงงานเรื่องนี้ค่ะ ไปดูกันเลยค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 ชั่งบอระเพ็ด, ใบโหระพา, พริกขี้หนู, ใบขี้เหล็กและขมิ้น ชนิดละ 100 กรัม


ขั้นตอนที่ 2 นำบอระเพ็ด, ใบโหระพา, พริกขี้หนู, ใบขี้เหล็กและขมิ้น มาตำให้ละเอียด จากนั้นใส่ลงไปในภาชนะสำหรับใส่สารละลายสมุนไพรแต่ละชนิด แล้วนำไปผสมกับน้ำเปล่าปริมาตร 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรทุกๆ ภาชนะ ตั้งทิ้งไว้ 1 วัน



ขั้นตอนที่ 3 กรองสมุนไพรด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้สมุนไพรแยกออกจากสารละลายแต่ละชนิด



ขั้นตอนที่ 4 นำหอยแครงไปแช่ในสารละลายบอระเพ็ด, ใบโหระพา, พริกขี้หนู, ใบขี้เหล็กและขมิ้นที่ผ่านการกรองเรียบร้อยแล้ว ชนิดละ 500 กรัม เป็นเวลา 1 ชั่วโมง


ขั้นตอนที่ 5 แยกหอยแครงออกจากสารละลาย จากนั้นก็นำสารละลายที่ได้ มากรองกับผ้าขาวบาง   เพื่อตรวจหาปริมาณดินที่หอยแครงคายออกมา


ขั้นตอนที่ 6 นำหอยแครงที่แยกออกจากสารละลายไปต้มในน้ำเปล่าปริมาตร 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จนเดือด เป็นเวลา 15 นาที


ขั้นตอนที่ 7 แยกหอยแครงออกจากน้ำที่ต้ม จากนั้นนำน้ำที่ต้มหอยแครงมากรองด้วยผ้าขาวบางอีกครั้งเพื่อตรวจหาปริมาณดินที่หอยแครงคายออกมา


ขั้นตอนที่ 8 นำผ้าขาวบางที่กรองแล้วของสมุนไพรแต่ละชนิด มาเปรียบเทียบการคายดินของหอยแครง                                       

     










อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง



1. พืชสมุนไพร