โครงงานWEB BLOG หอยแครงคายดินด้วยสมุนไพร

วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

ตารางสรุปผลการทดลอง

สวัสดีค่ะท่านผู้ชมทุกๆท่าน วันนี้ดิฉันจะพาทุกๆท่านไปชมตารางสรุปผลการทดลองของโครงงานเรื่อง หอยแครงคายดินด้วยสมุนไพร ค่ะ
            ซึ่งในการทำโครงงานเรื่องนี้ทางคณะผู้จัดทำได้ทำการทดลองด้วยกันทั้งหมด 3 ครั้ง แต่สิ่งที่ฉันจะพาทุกท่านไปดู คือ ตารางผลการทดลองโดยเฉลี่ยที่ได้จากการทดลองทั้งหมด อยากรู้แล้วใช่ไหมคะว่าสมุนไพรชนิดไหนจะมีผลต่อการคายดินของหอนแครงมากที่สุด ไปดูกันเลยค่ะ

ตาราง แสดงปริมาณการคายดินของหอยแครงในสมุนไพรแต่ละชนิดทั้ง 3 ครั้ง

ชนิดของสมุนไพร
ปริมาณการคายดินของหอยแครงโดยเฉลี่ย (ร้อยละ )
บอระเพ็ด
22.22
ใบโหระพา
24.60
พริกขี้หนู
17.46
ใบขี้เหล็ก
15.08
ขมิ้น
10.32
น้ำเปล่า
10.32

จากตาราง แสดงปริมาณการคายดินของหอยแครงในสมุนไพรแต่ละชนิดทั้ง 3 ครั้ง พบว่า ใบโหระพามีปริมาณการคายดินของหอยแครงโดยเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ บอระเพ็ด, พริกขี้หนู, ใบขี้เหล็ก, ขมิ้นและน้ำเปล่ามีปริมาณการคายดินของหอยแครงโดยเฉลี่ยเท่ากัน

วิธีการทดลอง




สวัสดีค่ะ ท่านผู้ชมทุกๆท่าน หลังจากที่ท่านได้หลงเข้ามาใน Blog นี้แล้ว ท่านคงอยากรู้ใช่ไหมคะ ว่า ทำไม blog นี้มีแต่รูปหอยแครงอยู่เต็มไปหมด มาค่ะดิฉันเฉลยให้ เหตุผลที่ใน Blog นี้มีแต่รูปหอยแครงกับสมุนไพรก็เพราะว่า นี่คือ Blog ของโครงงานหอยแครงคายดินด้วยสมุนไพรนั่นเอง
วันนี้ดิฉันจะพาทุกๆท่านไปดูขั้นตอนการทำโครงงานเรื่องนี้ค่ะ ไปดูกันเลยค่ะ

ขั้นตอนที่ 1 ชั่งบอระเพ็ด, ใบโหระพา, พริกขี้หนู, ใบขี้เหล็กและขมิ้น ชนิดละ 100 กรัม


ขั้นตอนที่ 2 นำบอระเพ็ด, ใบโหระพา, พริกขี้หนู, ใบขี้เหล็กและขมิ้น มาตำให้ละเอียด จากนั้นใส่ลงไปในภาชนะสำหรับใส่สารละลายสมุนไพรแต่ละชนิด แล้วนำไปผสมกับน้ำเปล่าปริมาตร 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตรทุกๆ ภาชนะ ตั้งทิ้งไว้ 1 วัน



ขั้นตอนที่ 3 กรองสมุนไพรด้วยผ้าขาวบางเพื่อให้สมุนไพรแยกออกจากสารละลายแต่ละชนิด



ขั้นตอนที่ 4 นำหอยแครงไปแช่ในสารละลายบอระเพ็ด, ใบโหระพา, พริกขี้หนู, ใบขี้เหล็กและขมิ้นที่ผ่านการกรองเรียบร้อยแล้ว ชนิดละ 500 กรัม เป็นเวลา 1 ชั่วโมง


ขั้นตอนที่ 5 แยกหอยแครงออกจากสารละลาย จากนั้นก็นำสารละลายที่ได้ มากรองกับผ้าขาวบาง   เพื่อตรวจหาปริมาณดินที่หอยแครงคายออกมา


ขั้นตอนที่ 6 นำหอยแครงที่แยกออกจากสารละลายไปต้มในน้ำเปล่าปริมาตร 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร จนเดือด เป็นเวลา 15 นาที


ขั้นตอนที่ 7 แยกหอยแครงออกจากน้ำที่ต้ม จากนั้นนำน้ำที่ต้มหอยแครงมากรองด้วยผ้าขาวบางอีกครั้งเพื่อตรวจหาปริมาณดินที่หอยแครงคายออกมา


ขั้นตอนที่ 8 นำผ้าขาวบางที่กรองแล้วของสมุนไพรแต่ละชนิด มาเปรียบเทียบการคายดินของหอยแครง                                       

     










อุปกรณ์ที่ใช้ในการทดลอง



1. พืชสมุนไพร





                                                    
  








วันพฤหัสบดีที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประวัติเล็กๆ ของหอยแครงตัวจิ๋ว


หอยแครง (ชื่อสามัญ)
COCKLE (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)
Anadara granosa (ชื่อวิทยาศาสตร์)
ARK SHELL (ชื่อสามัญภาษาอังกฤษ)

ลักษณะทั่วไป
        เป็นหอยสองฝาลักษณะค่อนข้างกลม เปลือกหนา ด้านนอกของเปลือกเป็นสันโค้งด้านละ 20 สัน ด้านบนของสันจะสูงแล้วลาดลงไปถึงฝาเปิดปิด โดยปกติเปลือกมีสีน้ำตาลอมดำ แต่ถ้าหอยอยู่ในบริเวณที่น้ำตื้นและแห้งเสมอฝาด้านบนจะมีสีขาว

ถิ่นอาศัย
        พื้นท้องทะเลชายฝั่งตื้น ๆ ที่เป็นโคลนหรือโคลนเหลว พบมากที่ชลบุรี เพชรบุรี สุราษฎร์ฯ ปัตตานี

อาหาร
        กินสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ในทะเล

ขนาด
         ความยาวประมาณ 6-7 ซ.ม.

ประโยชน์
         เนื้อใช้สำหรับรับประทาน ส่วนเปลือกใช้ทำเครื่องประดับของชำร่วย หรือบดผสมลงในอาหารไก่ได้

ขมิ้น บำรุงความงาม

ผงขมิ้นใช้สำหรับบำรุงผิว: ผงขมิ้นผสมกับน้ำนม สามารถช่วยบำรุงผิวพรรณ และยังเป็นยาฆ่าเชื้อตามธรรมชาติ สามารถช่วยล้างพิษแผลเปื่อยและรักษาโรคสะเก็ดเงินที่ทาง สธ กำลังเตือนประชาชนอยู่ได้ด้วย

ขมิ้นครีมพอกหน้าสูตรธรรมชาติ: เพื่อผลัดผิวหน้าให้กระจ่างใส การนำผงขมิ้นมาผสมกับข้าวเปลือกที่บดละเอียด ผสมกับน้ำนมหรือโยเกิร์ต พอกหน้าทิ้งไว้ 10-15 นาที หลังจากนั้นจึงล้างออกด้วยน้ำอุ่น สมารถช่วยฟื้นฟูผิวหน้าได้

ขมิ้นลดริ้วรอยบนใบหน้า: ผงขมิ้นผสมกับถั่วเขียวบดเป็นแป้งละเอียดผสมกับนม ใช้พอกหน้าทิ้งไว้ 10-15 นาที สามารถช่วยลดริ้วรอยบนใบหน้าได้ หากทำเป็นประจำ 1-2 เดือน

ขมิ้นครีมสำหรับเวลากลางคืน: สามารถใช้ขมิ้น + นม + โยเกิร์ต พอกหน้าในขณะเวลานอนหลับตอนกลางคืนได้ และสามารถล้างออกในตอนเช้าด้วยน้ำอุ่น

ขมิ้นรักษาสิว: ขมิ้นมีคุณสมบัติเป็นยาฆ่าเชื้อตามธรรมชาติอยู่แล้ว สามารถต่อต้านเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิวได้ ช่วยลดการแดงและอักเสบของสิว การดื่มชาขมิ้นก็สามารถเป็นยาป้องกันการระบาดของสิวได้ การผสมขมิ้นกับน้ำมะนาว , น้ำมันงาหรือน้ำแตงกวา (ใช้น้ำมะพร้าวก็ได้ แต่คนไทยคงจะถือกันเรื่องการเอาน้ำมะพร้าวมาล้างหน้า) ใช้แต้มสิวมิ้งไว้ 10-15 นาทีและล้างออกด้วยน้ำอุ่น สามารถช่วยรักษาสิวได้

ขมิ้นใช้มาร์คหน้าสำหรับคนหน้ามัน: ขมิ้นช่วยควบคุมความมันบนใบหน้าได้ การใช้ผงขมิ้น ผสมกับน้ำส้ม ผสมกับผงจากไม้จันทน์ ผสมกับน้ำผึ้ง นำมาพอกหน้า 10-15 นาที เป็นประจำสามารถช่วยลดปัญหาหน้ามันได้...

ขมิ้น นอกจากจะบำรุงผิวพรรณแล้วยังมีประโยชน์กับร่างกายอีกมากมายด้วย...

พริกขี้หนูลดคอเลสเตอรอล

       พริกขี้หนูลดคอเลสเตอรอล พริกขี้หนูจะมีรสเผ็ดร้อน จะอุดมไปด้วยวิตามินซีสูง และให้สารอาหารที่ให้คุณประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ท่านผู้อ่านชาว Upyim คงอยากจะทราบสรรพคุณแล้ว งั้นมาฟังกันเลย พริกขี้หนูมีสรรพคุณเป็นยาเจริญอาหาร แก้ไอ ขับเสมหะ ขับพิษร้าย แก้หวัด ลดคอเลสเตอรอล ลดไขมัน รักษาอาการบวมเนื่องจากความเย็นจัด แก้ตานซางซึ่งเป็นโรคที่มักพบในเด็กที่มีอาการซูบซีด พุงโล ก้นปอด และพริกขี้หนูนี้ยังมีฤทธิ์ต่อต้านแบคทีเรียและฆ่าแมลง รักษาโรคผิวหนังจำพวกเชื้อรา กลาก เกลื้อน ผดผื่นคัน สารสกัดจากพริกเมื่อทาลงบนผิวหนังจะทำให้หลอดเลือดขยายตัว และการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น ช่วยสลายไขมันที่สะสมให้บางลง ช่วยบรรเทาอาการปวดตามกล้ามเนื้อได้ด้วย
 
       เนื่องจากพริกขี้หนู หรือพริกทั่วไป มีรสเผ็ดร้อน หากท่านผู้อ่านชาว Upyim รับประทานแบบสดๆ ในปริมาณมาก อาจไประคายเคืองในกระเพาะทำให้รู้สึกแสบร้อนที่กระเพาะอาหารได้ โดยเฉพาะท่านผู้อ่านชาว อัพยิ้ม ท่านใดที่เป็นโรคกระเพาะอาหารควรรับประทานในปริมาณแต่พอดี อย่ารับประทานอาหารที่มีรสเผ็ดจัดเพราะอาจทำให้กระเพาะเป็นแผลได้

credit by http://women.upyim.com/%E0

คราดหอยแครง สุดหรรษา

คราดหอยแครงแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ

2.1 คราดหอยแครงแบบมีด้าม

2.2 คราดหอยแครงแบบไม่มีด้าม




       คราดหอยแครงแบบมีด้าม ส่วนที่เป็นซี่คราดทำด้วยเหล็กเส้นขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 2.50 มิลลิเมตร ช่องห่างของซี่คราด 2.00-2.50 เซนติเมตร หรือบุด้วยตาข่ายเหล็กขนาดตา 20 x 20 มิลลิเมตร ส่วนที่เป็นโครงใช้เหล็กเส้นขนาดใหญ่กว่า มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาด 10 มิลลิเมตร ปากคราดสูง 20-40 เซนติเมตร ความยาว 87-120 เซนติเมตร ความกว้าง(จากปากคราดถึงก้นคราด) 28-70 เซนติเมตร ขอบด้านล่างของปากจะมีซี่คราดยื่นออกมายาว 6 เซนติเมตร และทำให้เฉียงลง หรืองอลงประมาณ 70 องศา ด้ามคราดทำด้วยไม้ยาว 7-8 เมตร ยึดติดกับกึ่งกลางปากคราดและใช้เชือกขนาด 16 มิลลิเมตร ยาว 6-8 เมตร ผูกโคนด้ามไม้ เหนือขอบบนกึ่งกลางปากคราด เครื่องมือชนิดนี้ พบมากในเขตภาคใต้ตอนล่าง

        คราดหอยแครงแบบไม่มีด้าม ตัวคราดทำด้วยเหล็กเส้นเช่นเดียวกัน มีวิธีทำการประมง และลักษณะคล้ายกับคราดหอยลาย ขอบด้านล่างของปากคราดเป็นซี่ หรือเป็นเหล็กแบน อยู่ด้านหน้าและเฉียงลงทำมุมประมาณ 40 องศา และยื่นออกมายาวประมาณ 6.50 เซนติเมตร ขนาดความยาวและความกว้างของคราดขึ้นอยู่กับขนาดเรือ ส่วนช่องห่างของซี่คราดขึ้นอยู่กับขนาดของหอยแครง ตัวอย่างเช่น เรือขนาด 12 เมตร ใช้คราดขนาดความยาวหน้าปากคราด 1.70 เมตร ความกว้างส่วนบน 95 เซนติเมตร ความกว้างส่วนล่าง 80 เซนติเมตร ความสูงหน้าปากคราด 11 เซนติเมตร ส่วนท้ายคราดเรียวเล็กลง ตามลำดับ โครงทำด้วยท่อโลหะขนาดครึ่งนิ้ว แต่ขอบบนของปากคราดจะใช้ท่อโลหะขนาดนิ้วครึ่ง มีแผ่นเหล็ก 2 แผ่น อยู่เหนือขอบบนของปากคราด ใช้สำหรับผูกสายซุง ซี่คราดทำด้วยเหล็กกลมขนาด 6 มิลลิเมตร มีช่องห่างระหว่างซี่คราด 1.50 เซนติเมตร สายซุงเป็นโซ่ผสมกับเชือกขนาด 20 มิลลิเมตร ยาวข้างละ 4.50 เมตร สายลากเป็นเชือกขนาด 20 มิลลิเมตร ส่วนคราดหอยแครงของเรือขนาดไม่เกิน 10 เมตร ซึ่งใช้เครื่องยนต์ 5-10 แรงม้า จะใช้คราดหอยแครงที่มีความยาวปากคราด 1.10-1.50 เมตร ความกว้าง(ด้านข้าง) ขอบด้านบนยาว 35-38 เซนติเมตร ความกว้างขอบด้านล่าง 27-30 เซนติเมตร ความสูงหน้าปากคราด 15 เซนติเมตร ช่องห่างซี่คราด 1.50 เซนติเมตร แต่ถ้าลากลูกหอยแครงขายให้ผู้เลี้ยงจะใช้ช่องห่างซี่คราด 1.00 เซนติเมตร ด้านหน้าปากคราดขอบล่างทำเป็นซี่และยื่นออกมา 6.50 เซนติเมตร เฉียงลงทำมุมกับพื้นประมาณ 40 องศา ซุงเป็นเชือกขนาด 10 มิลลิเมตร ยาวด้านละ 1.50 เมตร วัสดุที่ใช้ทำเป็นคราดเหมือนกับคราดขนาดใหญ่ สายลากเป็นเชือกขนาด 12-14 มิลลิเมตร จำนวนคราดที่ใช้ 2 อัน/ลำ

credit by http://www.aquatoyou.com/index.php/2010-04-18-00-34-02/596--ark-shell-dredges

มหัศจรรย์ ฟาร์มเลี้ยงหอยแครง

การทำฟาร์มเลี้ยงหอยแครง


หอยแครงชนิดที่นิยมนำมาใช้ในการเลี้ยง นั้น มีชื่อเรียกทั่วไปว่า หอยแครงเทศ หอยแครงขุ่ย หอยแครงปากมุ้ม หอยแครงมัน หรือหอยแครงเบี้ยว เป็นหอยที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก (ชนิดที่มีขนาดค่อนข้างใหญ่ จะเรียกหอยคราง หรือหอยแครงขน) เป็นหอยที่ชอบฝังตัวอยู่ตามหาดโคลนหรือเลนละเอียด ในบริเวณชายฝั่งทะเล จนถึงแนวที่อยู่ห่างฝั่งออกไปประมาณ 2 กิโลเมตร หอยแครงจะมีอุปนิสัยชอบฝังตัวอยู่ตามผิวดินโคลน ลึกตั้งแต่ 1-12 นิ้ว โดยเราจะสังเกตเห็ฯเป็นรูจำนวน 2 รู ที่ผิวดิน ซึ่งเป็นช่องทางน้ำเข้า-ออก และสามารถเห็นรอยการเคลื่อนที่ของหอยเป็นร่องๆ โดยใช้เท้าในการเคลื่อนที่เพื่อหาอาหาร หลบหลีกศัตรู และเพื่อหาสภาวะแวดล้อมที่เหมาะสม หอยแครงจะขึ้นมาที่ผิวดินเมื่อน้ำขึ้นเพื่อหาอาหาร  และจะฝังตัวใต้ดินเมื่อน้ำลงเพื่อป้องกันน้ำออกภายนอกตัวหอย แต่จะเปิดฝาทั้งสองเล็กน้อย โดยจะยังมีสภาวะการไหลเวียนของน้ำและการหายใจเกิดขึ้นเป็นปกติภายในเปลือก



การเลือกสถานที่

บริเวณที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงหอยแครง หรือสถานที่เลี้ยงหอยแครงนั้น นับว่าเป็นปัจจัยสำคัญเบื้องแรกที่จะทำให้การประกอบอาชีพการเลี้ยงหอยแครงประสบผลสำเร็จหรือไม่ ซึ่งมีหลักพิจารณาดังนี้

1. ควรจะเลือกทำเลชายฝั่งทะเล ในช่วงบริเวณปากแม่น้ำหรืออ่าว และข้อสำคัญคือเป็นแหล่งที่มีหอยแครงเกิดอยู่แล้วในธรรมชาติ หรือสามารถจัดหาพันธุ์หอยเพื่อหว่านเลี้ยงได้สะดวก

2. การเลือกลักษณะพื้นที่ ต้องเป็นหาดโคลนเรียบ มีความลาดเอียงน้อย (ไม่ควรเกิน 15 องศา) และเป็นอ่าวที่บังคลื่นลมได้ดี กระแสน้ำไม่ไหลแรงเกินไป ทั้งนี้เพื่อป้องกันกระแสน้ำ หรือคลื่นลมพัดพาหอยแครงไปกองรวมกัน

3. ดินควรเป็นดินเลนหรือดินโคลนละเอียด หรือดินเหนียวปนโคลน และควรมีความหนาของผิวหน้าดินเลนไม่ต่ำกว่า 40-50 เซนติเมตร และชั้นของเลนเหลวทุกระดับ ไม่ควรมีกลิ่นเหม็น เช่น กลิ่นจากการเน่าสลายของเศษใบไม้จากป่าชายเลน

4. ช่วงความลึกของน้ำในแหล่งเลี้ยงควรลึกประมาณ 0.5-1 เมตร (ระดับทะเลปานกลาง) ทั้งนี้ไม่ควรให้หอยมีโอกาสตากแดดอยู่ในที่แห้ง (ตอนน้ำลงที่ต่ำสุด เกินกว่า 2-3 ชั่วโมง)

5. ความเค็มของน้ำทะเลบริเวณแหล่งเลี้ยงเปลี่ยนแปลงอยู่ในช่วง 10-31 ส่วนในพัน หากน้ำมีสภาพจืดนานเกินไปจะเป็นสาเหตุให้หอยตายได้

6. เป็นแหล่งที่ห่างไกลหรือไม่มีอิทธิพลของน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งอาศัยของชุมชน ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้หอยมีอัตราตายสูง เนื้อหอยมีคุณภาพต่ำและไม่ปลอดภัยแก่ผู้บริโภค

รูปแบบการเลี้ยงหอยแครง

รูปแบบการเลี้ยง
การเลี้ยงหอยแครงในประเทศไทยอาจแบ่งออกได้เป็น 2 ระบบ ดังนี้
1. การเลี้ยงระบบดั้งเดิม
เป็นการทำฟาร์มขนาดเล็กในครอบครัว เนื้อที่เลี้ยงตั้งแต่ 5-30 ไร่ต่อครอบครัวหรือราย โดยจะกั้นคอกด้วยเฝือกไม้ไผ่ล้อมแปลงเลี้ยงเตรียมเผือกไม้ไผ่ให้มีความกว้าง 1 เมตร ความยาวขึ้นอยู่กับขนาดของคอก โดยต้องให้เฝือกฝังลงไปในผิวดินประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วนำลูกหอยมาหว่าน โดยขนาดลูกหอยที่เริ่มต้นเลี้ยงจะขึ้นกับสายพันธุ์ของลูกหอย หากเป็นหอยพันธุ์พื้นเมืองของจังหวัดเพชรบุรี จะใช้ลูกหอยขนาดใหญ่ คือ  400-1,200 ตัว/กิโลกรัม ขนาดที่นิยมหว่านเลี้ยงประมาณ 450 ตัว/กิโลกรัม จะมีอัตราการหว่านประมาณ 800-1,500 กิโลกรัม/ไร่ เนื่องจากหอยพันธุ์พื้นเมืองสามารถเดินได้ ดังนั้นเพื่อให้หอยเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วและไม่กองทับกัน ต้องมีการตรวจความหนาแน่นและเกลี่ยลูกหอยเป็นประจำทุก 15 วัน หรือทุกเดือน โดยใช้เครื่องมือคล้ายคราด ซึ่งเรียกตามภาษาท้องถิ่นว่า "โพง" คราดและรวบรวมลูกหอยไปหว่านกระจายบริเวณอื่น สำหรับลูกหอยพันธุ์มาเลเซีย ซึ่งนำมาจากทางภาคใต้(สตูลหรือมาเลเซีย) จะปล่อยเลี้ยงลูกหอยขนาดเล็กกว่าพันธุ์พื้นเมือง โดยจะปล่อยขนาด 1,000-3,000 ตัว/กิโลกรัม แต่ขนาดที่นิยมปล่อยเลี้ยงประมาณ 2,500 ตัว/กิโลกรัม ลูกหอยพันธุ์มาเลเซียนี้ไม่เคลื่อนที่ แต่ในการหว่านลงเลี้ยงครั้งแรกอาจมีการกองทับกัน ดังนั้นต้องใช้เรือคราดและรวบรวมลูกหอยไปหว่านให้มีความหนาแน่นสม่ำเสมอทั่วพื้นที่เลี้ยง ซึ่งจะทำเพียงครั้งแรกในช่วงเริ่มหว่านเลี้ยง ระหว่างการเลี้ยงลูกหอยจะมีการเพิ่มจำนวนขึ้นจากปริมาณหอยที่ปล่อยเลี้ยงในตอนเริ่มต้น ดังนั้นการเก็บรวบรวมลูกหอยหลังจากปล่อยเลี้ยง จะมีการเก็บรวบรวมโดยใช้เรือลาก และคัดขนาดลูกหอย ลูกหอยขนาดเล็กจะถูกปล่อยลงเลี้ยงใหม่ หลังจากเลี้ยงได้ 1 ถึง 1 ปีครึ่ง หอยที่เก็บเกี่ยวได้ทั้งสองสายพันธุ์ก็จะได้หอยขนาดที่ตลาดต้องการ ประมาณ 70-80 ตัว/กิโลกรัม สามารถทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยใช้กระดานถีบเลนเก็บหอยด้วยมือหรือใช้คราดมือช่วยเก็บหอย ส่วนผลผลิตของการเลี้ยงจะได้ประมาณ 2,000-3,000 กิโลกรัม/ไร่/รุ่น การเลี้ยงแบบนี้นิยมเลี้ยงแถบอ่าวไทยตอนใน โดยเฉพาะแถบชายฝั่ง จังหวัดเพชรบุรี และสมุทรสงคราม เป็นต้น



2. การเลี้ยงระบบพัฒนา

เป็นการเลี้ยงหอยแครงแบบธุรกิจขนาดใหญ่ ในเนื้อที่ประมาณ 200-1,000 ไร่/ราย ใช้ไม้เสาปักบอกอาณาเขตห่างกันประมาณ 2 เมตร/1 ต้น ล้อมรอบแปลงหอย ลูกหอยที่นำมาเลี้ยงจะใช้หอยขนาดเล็ก(นิยมใช้พันธุ์หอยจากประเทศมาเลเซีย) โดยมีขนาดตั้งแต่ 1,000-3,000 ตัว/กิโลกรัม แต่ขนาดที่นิยมนำมาใช้ประมาณ 2,500 ตัว/กิโลกรัม ซึ่งทั้งขนาดและอัตราหว่านเช่นเดียวกับการปล่อยลูกหอยลงเลี้ยงในระบบดั้งเดิม เนื่องจากผู้ประกอบการเลี้ยงหอยแครงรายใหญ่ จะเป็นผู้นำลูกหอยมาจำหน่ายให้แก่ผู้ประกอบการรายย่อยด้วย โดยมีราคาแตกต่างตามขนาดลูกหอยที่รับมา  เมื่อเลี้ยงไปได้ประมาณ 1-2 ปี ก็จะได้ผลผลิตหอยแครงตามที่ตลาดต้องการ ขนาด 80-120 ตัว/กิโลกรัม ทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตโดยใช้เรือยนต์คราดหอย และบรรจุกระสอบเพื่อนำผลผลิตส่งจำหน่ายต่อไป ผลผลิตที่ได้อยู่ในช่วงระหว่าง 4,000-5,000 กิโลกรัม/ไร่/รุ่น การเลี้ยงระบบนี้นิยมในจังหวัดชายฝั่งทะเลภาคใต้ทั้งฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน

หอยแครง VS หอยคราง

     หอยแครง
(อังกฤษ: Blood Cockle, ชื่อวิทยาศาสตร์: Anadara granosa) เป็นหอยจำพวกกาบคู่ ความยาวประมาณ 6-7 เซนติเมตร


     หอยคราง
(ชื่อวิทยาศาสตร์: Scapharca inaequivalvis) เป็นหอยเปลือกคู่


     หอยคราง อาศัยตามแนวหินปะการัง (ไม่เหมือนหอยแครงที่อาศัยอยู่ตามแนวดินโคลน) ซึ่งจะมีทรายหรือทรายปนโคลนปะปนอยู่ด้วย หอยครางเป็นหอยสองฝา แปลกที่จะมีขนอยู่บริเวณเส้นหรือบริเวณปากหอย ขอบเปลือกจะเป็นรอยหยักเหมือนฟันปลา สีขาวบ้าง สีชมพูบ้าง สีเขียวก็มี

     หอยคราง เป็นหอย มีลักษณะคล้ายหอยแครง (Anadara granosa) แต่มีขนาดใหญ่กว่า

     ขอบเปลือกมีลักษณะเป็นรอยหยักเหมือนฟันปลา เปลือกมีสีต่าง ๆ เช่น สีขาว, สีชมพูและสีเขียว และมี

จุดเด่นคือมีเส้นขนอยู่บริเวณฝาเปิด จนได้รับชื่อเรียกอีกชื่อว่า หอยขน
เปลือกของหอยครางมีลักษณะคล้ายหอยแครง จัดเป็นหอยจำพวกหอยแครง 5 ชนิด ที่พบได้ในน่านน้ำไทย
เปลือกหอยครางมีขนาดประมาณ 1.5-2 นิ้ว และเปลือกทั้ง 2 ข้างมีขนาดเล็ก-ใหญ่ไม่เท่ากัน
     หอยครางอาศัยตามแนวปะการังค่อนข้างลึก ซึ่งไม่เหมือนกับหอยแครงที่อาศัยอยู่ตามดินโคลน ซึ่งบางครั้งจะพบทรายหรือทรายปนโคลนปะปนอยู่ในเปลือกหอยด้านในด้วย



บอระเพ็ดลดความอ้วน

สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านค่ะ

ช่วง นี้ฝนตกทุกวันและตกทั้งวัน ยังไงก็รักษาสุขภาพกันด้วยนะคะ ออกจากบ้านไปทำงานก็พกร่มกันไปด้วย ตอนนี้ใครไม่เป็นหวัด ถือเป็นลาภอันประเสริฐค่ะ  สำหรับบทความที่จะนำเสนอในวันนี้ ได้มาจากการที่ลูกค้าหลายๆท่าน ถามหา ยาลดความอ้วนจากสมุนไพร วันนี้ฉันจึงอยากนำเสนอ ยาลดความอ้วนจากสมุนไพร แบบง่ายๆ ให้ลองทานกันดูนะคะ โดยสูตรนี้เป็นสูตรยาลดความอ้วนและดักจับไขมันของหลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขาม เฒ่า ซึ่งฉันไปพบโดยบังเอิญ จากกระทู้หนึ่งในเว็บพันทิพย์คะ จึงนำมาฝากกัน  โดยสูตรยามีดังนี้คะ

1.บอระเพ็ด 2.น้ำผึ้ง

วิธีทำ นำบอระเพ็ดที่ตากจนแห้งดีแล้วมาบดให้เป็นผงแล้วมาผสมกับน้ำผึ้ง ปั้นให้เท่าขนาดเม็ดพุทรากินก่อนอาหารเช้า 3 เม็ด ทุกวันภายในหนึ่งเดือนจะเห็นผลทันที

นี่ เป็นสูตรยาตามหนังสือที่หลวงปู่ศุขวัดปากคลองมะขามเฒ่า ท่านได้เขียนไว้คะ แต่ถ้าจะมาทำทานเองก็คงจะยุ่งยากน่าดู ไหนจะต้องไปหาบอระเพ็ดมานั่งบดผสมกับน้ำผึ้ง ทั้งยุ่งยากและเสียเวลา ฉันจึงขอแนะนำ ยาสมุนไพรบอระเพ็ด อภัยภูเบศร ชนิดแคปซูล ซึ่งบอระเพ็ดนั้น  เป็นยาอายุวัฒนะ บำรุงร่างกาย ทำให้เจริญอาหาร ซึ่งเป็น Bitter Tonic ที่คนไทยใช้กันมานาน ซึ่งทางโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยาอภัยภูเบศรจึงพัฒนาให้อยู่ในรูปแบบของ Capsule ใช้เป็นยาเจริญอาหารในคนไข้วัณโรค คนไข้ HIV และคนไข้เบาหวาน บางรายนิยมรับประทานบอระเพ็ดเพื่อช่วยในการควบคุมน้ำตาล

แกงขี้เหล็ก สุดยอดอาหารจานเด็ด


แกงขี้เหล็ก


แกงขี้เหล็กปลาย่าง

พริกขี้หนู เผ็ดจี๊ด ถึงใจ


กุ้งสับพริกขี้หนูสวน


แกงเขียวหวานกะปิพริกขี้หนูสวน


น้ำพริกอีเก๋

ขมิ้น รสเด็ด


ไก่ย่างขมิ้น


ปลากระบอกทอดขมิ้น


ทอดมันไก่ใส่ขมิ้นชันสด

เมนู โหระพา จานเด็ด


ไข่เจียวดอกโสนโหระพากุ้ง


หอยแมลงภู่อบใบโหระพา


ซอสโหระพา

บอระเพ็ดแปรรูป



บอระเพ็ดแช่อิ่ม


น้ำหมักบอระเพ็ด

ไปดูหอย


คลิป วิดีโอ ไปดูหอยแครง

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ประโยชน์และสรรพคุณขมิ้นชันที่ควรรู้




1. ต้านการเกิดแผลและสมานแผลในกระเพาะอาหาร
ขมิ้นชันมันมีสรรพคุณในการสมานแผล ช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น โดยเร่งการเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อที่เป็นแผล นอกจากช่วยรักษาแผลในกระเพาะอาหารแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกิดแผลในกระเพาะอาหาร โดยการกระตุ้น mucin มาเคลือบกระเพาะอาหารและยับยั้งการหลั่งน้ำย่อยชนิดต่างๆได้
2. ลดการอักเสบ
มีผลการทดลองว่า ผงแห้ง น้ำคั้นและสารสกัดชนิดต่างๆมีฤทธิ์ในการลดการอักเสบในร่างกายทุกชนิด และสารสำคัญในการออกฤทธิ์ลดการอักเสบ คือ สารที่มีชื่อว่า curcumin
3. ต้านการแพ้
ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการต้านการแพ้ โดยการออกฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของสาร histamine ของร่างกายเมื่อมีอาการแพ้
4. ลดการบีบตัวของลำไส้
จากการทดลองทางคลินิกกับคนไข้จำนวน 440 คน อายุเฉลี่ย 48.5 ปี โดยการให้ทานขมิ้นชันทุกวัน วันละ 162 มิลลิกรัม พบว่า ขมิ้นชันมีฤทธิ์ลดการบีบตัวของลำไส้ และยังช่วยในการขับลมและแก้อาเจียนด้วย
5. ลดอาการแน่นจุกเสียด
มีการทดลองในผู้ป่วยโรคท้องอืดท้องเฟ้อในโรงพยาบาล 6 แห่ง จำนวน 160 คน โดยรับประทานครั้งละ 2 แคปซูลวันละ 4 ครั้ง พบว่าได้ผลดีกว่ายาขับลมและผู้ป่วยพอใจ ซึ่งน้ำมันหอมระเหยของขมิ้นเป็นสารออกฤทธิ์ในการขับลม
6. ขับน้ำดี
ขมิ้นชันสามารถออกฤทธิ์เพิ่มการขับและกระตุ้นการสร้างน้ำดีได้ ซึ่งน้ำดีเป็นสารสำคัญในกระบวนการช่วยย่อยและดูดซึมอาหารของร่างกาย
7. รักษาอาการท้องเสีย
นำผงขมิ้นชันผสมน้ำผึ้งปั้นเป็นยาลูกกลอนรับประทานหลังอาหารและก่อนนอน ครั้งละ 3-5 เม็ด วันละ 3 เวลา และในประเทศอินโดนีเซียก็มีการใช้ขมิ้นในการรักษาอาการอุจจาระร่วงเช่นกัน และขมิ้นชันขนาด 1000 มก./ครั้ง/วัน มีผลทำให้อาการท้องร่วงในลูกสุกรระยะดูดนมแม่หายไป
8. ต้านแบคทีเรีย
ทั้งสารสกัดขมิ้นชัน น้ำมันหอมระเหย สาร curcumin และอนุพันธ์มีฤทธิ์ในการต้านแบคทีเรียชนิดต่างๆ เช่น
แบคเรียที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
แบคทีเรียที่ทำให้เกิดเยื้อหุ้มฟันอักเสบ
แบคทีเรียที่ทำให้เกิดโรคท้องเสีย
แบคทีเรียก่อโรคในกุ้ง
แบคทีเรียที่ให้เกิดหนอง
9. ต้านยีสต์และเชื้อรา
ทั้งสารสกัดขมิ้นชัน น้ำมันหอมระเหย สาร curcumin และอนุพันธ์ มีฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตและฆ่ายีสต์, เชื้อราชนิดต่างๆ เช่น
เชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคผิวหนัง อย่างเช่น โรคกลาก
10. ต้านปรสิต
สารสกัดจากขมิ้นสามารถที่จะฆ่าเชื้ออะมีบา ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคบิดมีตัวได้
11. ป้องกันตับอักเสบ
ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการป้องกันตับอักเสบ
12. ต้านการกลายพันธุ์ (ต้านมะเร็ง)
ขมิ้นชันมีฤทธิ์ต้านการกลายพันธุ์  ต้านสารก่อมะเร็งที่มีบทบาทสำคัญในโรคที่เกี่ยวกับเบาหวาน และโรคที่เกิดจากการเสื่อมของร่างกาย
13.  ต้านความเป็นพิษต่อยีน
ขมิ้นชันมีฤทธิ์ในการป้องกันความเสียหายของ DNA และต้านความเป็นพิษต่อยีน
14.  มีสรรพคุณสมานแผล
ผงขมิ้นที่นำมาผสมกับน้ำแล้วทาลงบนแผลพบว่า ช่วยเร่งให้แผลที่ไม่ติดเชื้อของกระต่ายและหนูขาวหายได้ 23.3 และ 24.2% ตามลำดับ และสามารถเร่งให้แผลติดเชื้อของหนูขาวหายได้ 26.2%